วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีระบบ

การจัดระบบการเรียนการสอน (วิธีระบบ)
         ความหมายของระบบ
    
           เบนาธี (Banathy 1968:7) กล่าวว่าระบบคือการรวบรวมสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้ออกแบบสร้างขึ้นมา เพื่อจัดดำเนินงานทั้งหลายให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
                ชัยยงค์  พรหมวงค์ (2523:98) ได้ให้นิยามของระบบว่า ระบบคือผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกันแต่มีปฎิสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                สรุปได้ว่า ระบบ คือ  หน่วยรวมของสิ่งต่างๆที่มนุษย์ออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างมีระเบียบและสัมพันธ์กัน  โดยใช้ระเบียบทางวิทยาศาสตร์  เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุจุดมุ่งหมาย
             วิธีระบบ คือ การทำงานร่วมกันของสิ่งต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้เพื่อให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
             เทคโนโลยีการศึกษา คือ  เป็นกระบวนการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบโดยมีการวางแผนออกแบบคิดค้นและพัฒนาวิธีการและเครื่องมือเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น   การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  เป็นการนำเอาวิธีระบบ หรือการจัดระบบมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่ป้อน (Input) กระบวนการ(Process) และมีผลผลิต (Output) เช่น ระบบการสอน จะมีองค์ประกอบย่อย ๆ เช่น ระบบครูผู้สอน ระบบนักเรียน ระบบสื่อการสอน ระบบการเลือกและใช้สื่อการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งหน่วยย่อยเหล่านี้ สามารถทำงานในหน้าที่ของตนอย่างมีอิสระ แต่ถ้าหน่วยย่อยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบถึงหน่วยย่อยอื่น ๆ ด้วย                ระบบการสอนที่มีการออกแบบโดยใช้วิธีระบบ (Systematic approach) มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง มีการกำหนดขั้นตอนการสอน เช่น มีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้แหล่งความรู้ ให้สามารถตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เช่น วัย เพศ อัตราการเรียนรู้ ความสามารถทางด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด ประสบการณ์เดิม ตลอดจนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ซึ่งครูผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษา จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบพัฒนาระบบการสอน

   ที่มา
แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ   พอเพียง พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนำความรู้ และเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปีแห่ง      การปฏิรูปการเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กและเยาวชน มีความสามารถและมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เพื่อลดการท่องจำ มีคุณธรรมจริยธรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีนิสัยรักการอ่านเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย นักเรียนที่มีความแตกต่างได้รับ
 การพัฒนาบรรลุศักยภาพสูงสุด การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเป้าหมายของ       การปฏิรูปการเรียนรู้  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต จึงได้จัดทำกรอบรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ครูผู้สอน ได้พิจารณาเลือกและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาตินักเรียน  ธรรมชาติวิชา และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด  เน้นเป้าหมายเพื่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนสูงสุด
การจัดการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมเกิดมานาน  มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ดีขึ้น  การเรียนรู้จากวิธีสอนวิธีเดียวไม่ได้ผลดี  จึงเกิดแนวคิดในการผสมผสานหรือจัดกระบวนการสอนมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น  เป็นระบบ ระเบียบ มีการทดลองใช้ได้ผล  จึงเผยแพร่เป็นรูปแบบการสอน
            นิยามศัพท์
1. วิธีสอน หมายถึง แนวทางที่ปฏิบัติ แบบอย่างที่ทำ ที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ และขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีสอนแบบสาธิต แบบ สสวท. แบบโครงงาน  แบบสืบสวนสอบสวน  แบบอุปมัย  แบบอภิปราย ฯลฯ
2. การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอันเนื่องจากประสบการณ์ หรือสิ่งเร้า เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ การปฏิบัติ และความรู้สึก ผลที่เกิดจากการสอนคือการเรียนรู้
3. ระบบการเรียนการสอน (Teaching/Instructional System) คือ องค์ประกอบต่าง ๆ ของกิจกรรมการเรียนและการสอนที่ได้รับการจัดให้มีความสัมพันธ์กัน และส่งเสริมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
4. ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง ความสามารถ ฝีมือ ในการนำจิตวิทยา วิธีการ และเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ราบรื่น และมีความสุข
5. เทคนิคการสอน  คือ ศิลปะหรือกลวิธีต่าง ๆ  ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใด ๆ  เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำนั้น ๆ  มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น  ดังนั้น  เทคนิคการสอนจึงหมายถึงกลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใด ๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยายผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง  การใช้สื่อ  การใช้คำถาม  เป็นต้น

6. ทักษะการสอน หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติการสอนด้านต่าง ๆ อย่างชำนาญ ซึ่งครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฏีและหลักการเรียนรู้ และการสอนต่าง ๆ

7. ปรัชญาการศึกษา  (Educational Philosophy)  หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง  ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ  ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใด ๆ  ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการ ต่าง ๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความเชื่อนั้น ๆ  เช่น การเรียนรู้เกิดจาก       การสร้างความรู้ของผู้เรียน  ปรัชญาปฏิบัตินิยม เน้น  Learning by doing  ปฏิรูปนิยมเห็นว่าการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาสังคม
8. นวัตกรรมการสอน  คือ สิ่งใหม่ที่ทำขึ้น  ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ  หรืออุปกรณ์องค์กร  หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ  นำมาใช้แล้วเกิดผลดียิ่งขึ้น  ดังนั้นนวัตกรรมการสอนจึงหมายถึงแนวคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน  หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว  แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ  ใช้แล้วทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดหมาย
9. บริบททางการเรียนการสอน  (Teaching and Learning Context)  หมายถึง  สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งมีความสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อการสอน ทั้งในระดับจุลภาพ (micro)  ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้ตัวผู้เรียนผู้สอนมากที่สุด  ไปจนถึงระดับมหาภาค (macro)  ซึ่งเป็นระดับที่ไกลตัวผู้เรียนมากที่สุด  เช่น สภาพทางจิตใจและความรู้ทางวิชาการของผู้สอน  สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตัวผู้เรียน  สภาพของห้องเรียน   บรรยากาศผู้บริหาร  การบริหารงานบุคากรในโรงเรียน  สภาพของโรงเรียน สภาพแวดล้อมในโรงเรียน  ผู้ปกครอง  บุคคลในชุมชน  สภาพทางสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองของชุมชน  สภาพของชาติ โลก ที่มีอิทธิพล              ต่อการเรียนการสอน
10. ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory) หมายถึง แนวคิดหลักการ ความจริงที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อย ๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฏีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อย ๆ หลายหลักการ เช่น ความคิดเป็นสิ่งที่สอนได้   การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะบูรณาการ ผ่านประสบการณ์ตรง
11. รูปแบบการสอน รูปแบบการเรียนการสอน  (Teaching Learning Model) หรือ ระบบการสอน คือโครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฏี หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์  ทำสอบว่ามีประสิทธิภาพ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ  โดยทั่วไปแบบแผน     การดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วย  ทฤษฏีหลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้นกำหนด  ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัด และดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
                12. กระบวนการเรียนรู้ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติหรือการรับรู้ของผู้เรียน ที่กำหนดอย่างเป็นระบบระเบียบ สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียน ของวิชา เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เช่น 1) ศึกษาสังเกต   2) วิเคราะห์   3) สรุป   4) แลกเปลี่ยน
กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจสี่  มี  4 ขั้นตอน   1) กำหนดปัญหา    2) วิเคราะห์        หาสาเหตุ    3) ปฏิบัติ ทดลองเพื่อแก้ปัญหา   4) สรุปผล
13. ปฏิรูปการเรียนรู้ หมายถึง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เปลี่ยนโฉม เกี่ยวกับการเรียนรู้ให้เหมาะสมด้วยการปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน นำสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ เลิกใช้วิธีเดิม ๆ จนทำให้เกิดผลดีตามจุดหมาย การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ยึดหลักให้ผู้เรียนสำคัญที่สุด
14. การเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง การเรียนรู้ที่มีการสัมพันธ์ เชื่อมโยง เนื้อหา ความรู้ ทักษะ ความรู้สึกประสบการณ์ ที่มีความหมาย หลากหลายและสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ชุดเจนในเรื่องที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในชีวิต
15. รูปแบบการเรียนการสอนของ จอยส์และเวล (Joyce and Weil. 1996) เป็นรูปแบบการสอนที่เป็นสากล มี 80 รูปแบบ ได้จัดเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มเน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม    2) กลุ่มเน้นการประมวลข้อมูลความรู้ข่าวสาร 3) กลุ่มเน้นอัตบุคคล กระบวนการพัฒนาตนอัตมโนทัศน์ 4) กลุ่มเน้นพฤติกรรม เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม





องค์ประกอบของระบบ
                การที่จะมีระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาได้ต้องมีส่วนประกอบหรือสิ่งต่างๆ   เป็นตัวป้อนโดยเรียกว่า ข้อมูล เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น กระบวนการเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์”ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดั้งนั้น ภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้
ข้อมูล
INPUT
 
ข้อมูลย้อนกลับ
FEEDBACK

 
 






                                             
                                            ภาพที่ 2.1 องค์ประกอบของระบบ
1.             ข้อมูล เป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา  การตั้งวัตถุประสงค์  หรือการป้อนวัตถุดิบตลอดจนข้อมูลต่างๆ  เพื่อการแก้ปัญหานั้น
2.             กระบวนการ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทีป้อนเข้ามา  เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.             ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลง รวมถึงการประเมินด้วย
นอกจากนี้ยังมี ข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งเป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมาพิจราณาว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง  เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ นั้นสามารถใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์ระบบ
                การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) เป็นการนำเอาระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เข้ามาประยุกต์ใช้โยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ขององค์ประกอบทั้งหลายภายในระบบ เพื่อสอบโครงสร้างและขั้นตอนการดำเนินงานของระบบให้เห็นเป็นกระบวนการอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปเป็นหลักการในทางปฏิบัติ
                ดังนั้น การกล่าวถึงการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นการอธิบายให้เห็นขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างมีระบบนั้นเอง  ซึ้งหากพิจารณาขั้นมูลฐานจากการวิเคราะห์ระบบจะพบว่าระบบมีขั้นตอนในกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญ 4 ประการคือ
1.             การพิจารณาข้อมูลที่ป้อนให้แก่ระบบ
2.             วิธีการดำเนินงานของระบบ
3.             ผลลัพธ์และการตรวจสอบ
4.             การนำผลจากข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) มาเพื่อพิจารณาปรับปรุง
                ชารัด  คุลคาร์นีและคนอื่นๆ(Sharad Kulkarni and Others: 1974) ได้วิเคราะห์ระบบโดยการนำเอาระเบียบทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อนำไปเป็นหลักการของการสร้างบทเรียนโปรแกรมและพัฒนาหลักสูตร ได้ขั้นตอนของวิธีระบบจำนวน 8 ขั้นคือ
1.             กำหนดปัญหา (Identify  problem)
2.             จำกัดวงของปัญหา (Define problem)
3.             วิเคราะห์ปัญหา (Analyse problem)
4.             หาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ (Generate Alternative Solutions)
5.             เลือกวิธีแก้ปัญหาที่เห็นว่าดีที่สุด (Select Best Solutions)
6.             ออกแบบวางแผนปฏิบัติ (Design Action Programme)
7.             นำแผนไปปฏิบัติ (Implement Programme)
8.             ควบคุมตรวจสอบเพื่อปรับปรุงอยู่เสมอ (Monitor Programme)
      ซึ่งหากเรานำเอาวิธีวิเคราะห์ระบบของคุลคาร์นีไปเปรียบเทียบกับวิธีวิเคราะห์ที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น  จะพบว่าไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ขั้นตอนของวิธีระบบตามวิธีวิเคราะห์ของคุลคาร์นีขั้นที่ 1,2 และ3 คือขั้น ข้อมูล ขั้นที่ 4,5 และ 6 คือขั้น กระบวนการ และขั้นที่ 7,8 และ 9 และขั้นที่ 7 และ 8 ก็คือขั้นผลลัพธ์ ซึ่งมีการตรวจสอบเพื่อปรับปรุงอยู่เสมอนั่นเอง ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า การวิเคราะห์ระบบนั้นไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์แบบใดก็ตาม  ก็ตั้งอยู่บนหลักการวิเคราะห์เบื้องต้นดังกล่าวมาแล้วและจะเห็นว่าพื้นฐานของวิธีระบบก็คือระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้นเอง
ประโยชน์ของวิธีระบบ
            ประโยชน์ของวิธีระบบมีมากมาย  ถ้านำวิธีระบบที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินงาน  เพราะวิธีระบบจะทำให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุ้มค่าหรือประหยัดมากขึ้น  ประโยชน์ของวิธีระบบสรุปได้ดังนี้
1.             ทำให้เราทราบขั้นตอนการดำเนินงาน  สามารถดำเนินงานได้อย่างมีขั้นตอน
2.             สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ดำเนินงาน
3.             ทำให้การดำเนินงานบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยง่าย
4.             สามารถตรวจสอบ และปรับปรุงได้ทุกขั้นตอน
5.             ทำให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนหลักการ ทฤษฎีและวิจัย

                    ปัจจุบัน  วิธีการวิเคราะห์ระบบได้รับความนิยมนำไปใช้ในสาขาวิชาการต่างๆ กันอย่างกว้างข้วาง  เพราะจากการศึกษาทดลองพบว่าเป็นวิธีการที่ให้ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลและคุ้มค่าหรือประหยัดมากกว่า  ในทางการศึกษาและทางการเรียนการสอนก็นำเอาหลักการวิเคราะห์ระบบมาใช้เช่นเดียวกัน
วิธีระบบกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
                        เทคโนโลยีเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ และวิธีการที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลและคุ้มค่าหรือประหยัดที่สุดในปัจจุบันก็คือ  ระเบียบวิธีวิทายศาสตร์ ซึ่งเมื่อนำวิธีนี้มาใช้ในสาขาพฤติกรรมศาสตร์ ก็มีการดัดแปลงให้ส่องคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์และโดยที่มนุษย์อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  มีลักษณะเป็นองค์การ (Organization) การใช้กระบวบการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้น จึงเรียกลักษณะกระบวนการแก้ปัญหาโดยวิธีวิทยาศาสตร์นี้ว่า วิธีระบบ
                        ในทางการศึกษาได้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา เรียกว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษา  ดังนั้นเทคโนโลยีทางการศึกษา   จึงเป็นการประยุกต์ใช้วิธีระบบ   (หรือระเบียบวีวิทยาศาสตร์)    ในการศึกษา  หรือกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษาก็คือ  การใช้วิธีระบบในการศึกษานั้นเอง
การจัดระบบการสอน
                        การสอนนั้นเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งในระบบการศึกษาใหญ่  ซึ่งการดำเนินงานของระบบการสอนครุผุ้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนและตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนนั้นให้ดีเสียก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการสอน   ตลอดจนการเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนเพื่อที่จะดำเนินการสอนให้ได้ผลลัพธ์  คือ  การที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  แต่ถ้าหากว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น   โดยอาจมีปัญหาในการสอนหรือการที่ผู้เรียนไม่สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ดีเท่าที่ควรก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  วิธีการแก้ปัญหาในการเรียนการสอนที่นิยมใช้กันมากวิธีหนึ่งคือ การจัดระบบ (System Approach)



การออกแบบระบบการสอน   
           โพแฟม และเบเกอร์ (James W. Popham, and Baker, 1970) ได้ออกแบบระบบการสอนโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
          1. กำหนดวัตถุประสงค์
          2. พิจารณาพื้นฐานผู้เรียน
          3. วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน
          4. ประเมินผล
         เบราน์และคณะ (Brown and others, 1986) เป็นระบบการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน และมีการวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนซึ่งตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ดังมีรายละเอียดดังนี้
           - เป้าหมาย (goals) เพราะในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมก็ตามจำเป็นต้องมีจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย ซึ่งจุดประสงค์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องนำไปเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
              1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เกี่ยวข้องกับความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล
              2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เกี่ยวข้องกับเจตคติ และความรู้สึกนึกคิด เช่น ความรู้สึกซาบซึ้งต่อดนตรี หรืองานศิลปะ เป็นต้น
              3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการเล่นฟุตบอล ทักษะการพิมพ์ หรือทักษะการประดิษฐ์ตัวอักษร เป็นต้น
           - สภาพการณ์ (Conditions) หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียน สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยยึดหลักการที่ว่า "การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากกระทำด้วยตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ" ดังนั้น การเลือกรูปแบบของประสบการณ์ และกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
และสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
           - แหล่งการเรียน (Resources) นับเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของการจัดการสอน ซึ่งรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ที่จะเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์รวมถึงบุคลากร ครูผู้สอน ห้องสมุด ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ผู้ช่วยสอนและอื่น ๆ ซึ่งมีผลโดยตรงหรือทางอ้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
       
    - ผลลัพธ์ (Outcomes) คือผลที่ได้รับการกิจกรรมการเรียนการอน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่ง จะมีการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาเป็นข้อปรับปรุงเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
           เกอร์ลาซ และ อีลี (Gerlach and Ely, 1980) ได้เสนอรูปแบบการสอนซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 10 ประการคือ
           1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) คือการวัตถุประสงค์ว่าผู้เรียนควรจะสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง
           2. กำหนดเนื้อหา (Specification of Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
           3. พิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน (Assessment of Entering Behaviors) การทราบถึงความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณาก่อนที่จะวางแผนการสอน โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) ในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก
              3. 1.บันทึกข้อมูลต่างๆ (Use of Available Records) เช่น ระเบียนสะสม ซึ่งจะบันทึกผลการเรียนด้านต่าง ๆ เช่น สติปัญญา การใช้เหตุผล และภาษา ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
              3. 2. แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างขึ้น (Teacher - Designed Pretest) เพื่อทดสอบถึงความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน ทำให้ผู้สอนได้ทราบถึงความสามารถ (Learners' abilities) ความถนัด (Aptitudes) ของผู้เรียน อันจะเป็นข้อมูล เพื่อใช้ในการแนะนำผู้เรียน และในการวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต
           4. เลือกยุทธศาสตร์และเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques) คือ วิธีการที่ครูใช้ในการให้ข้อมูล ในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ และบทบาทของผู้เรียน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
              4.1. การบรรยาย (Expository Approach) จะเป็นวิธีการสอนแบบดั้งเดิม ที่เน้นครูเป็นผู้นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
               4.2. วิธีการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) วิธีการนี้บทบาทของครูจะเป็นผู้อำนวยการในการจัดประสบการณ์ โดยการตั้งคำถาม สร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนได้เสาะแสวงหาคำตอบในการแก้ปัญหา โดยใช้ ข้อมูล ตำรา หนังสือ วัสดุ และผู้เรียนจะต้องพยายาม รวบรวม (Organize) จัดระบบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมด้วยตัวเอง (Active participations) ในที่สุดจะได้เป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินการเรียนการสอนได้
           
5. จัดกลุ่มผู้เรียน (Organization of Students into Groups) เป็นการจัดกลุ่มเรียน เช่น เรียนร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก หรือโดยการบรรยายเป็นกลุ่มใหญ่ หรือเป็นรายบุคคล ระหว่างครูและกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น
           6. กำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) การเลือกยุทธวิธี เทคนิคต่าง ๆ นั้นล้วนมีผลต่อการเลือกและกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสมทั้งสิ้น เช่น เนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ สถานที่เรียน รูปแบบการบริหาร ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
    
      7. กำหนดสถานที่เรียน (Allocate of Learning Space) จะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน วิธีการสอน คือ
              7. 1. ห้องสำหรับกลุ่มใหญ่ เรียนได้ครั้งละ 30-50 คน
               7.2. ห้องขนาดเล็ก ใช้สำหรับการเรียนการสอนกลุ่มย่อย หรือการอภิปราย
               7.3. ห้องเรียนแบบรายบุคคล อาจเป็นศูนย์สื่อที่จัดไว้สำหรับเรียนเป็นรายบุคคล
         8. การกำหนดแหล่งการเรียนรู้ (Allocation of Resources) เป็นการเลือกแหล่งการเรียน หรือสื่อการสอน ซึ่งสามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว โทรทัศน์ ของจริง สื่อบุคคล หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
         9. ประเมินผล (Evaluation of Performance) เป็นการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลเป็นส่วนสุดท้ายในการวางแผนรูปแบบการสอน ที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก
         10. วิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (Analysis of Feedback) หลังจากที่ได้ประเมินผลการเรียนการสอนแล้วจะทำให้ทราบว่า การเรียนการสอนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด หากมีข้อบกพร่องก็สามารถวิเคราะห์ผล แล้วย้อนกลับมาเพื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับให้รวดเร็วที่สุด มิใช่เพียงเฉพาะผู้สอนเท่านั้นแต่รวมถึงผู้เรียนด้วย
 รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE 
           การใช้รูปแบบการสอน แบบ ASSURE เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้
           
A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่
          1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
          2. ข้อมูลเฉพาะ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในการเรียน
            การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
           
S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงถึงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
            1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น
              2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็น ภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษ หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน
            3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติ ซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่น ระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไป
           
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ
         1. การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
          2. ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว
          3. การออกแบบสื่อใหม่
       
  U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ
         1. การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย
          2. การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง
          3. การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน  การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด
R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนอง และมีการเสริมแรง การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน
   E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ
            1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
            2. การประเมินสื่อและวิธีใช้
            3. การประเมินกระบวนการเรียนการสอ
 

ขั้นตอนการวิเคราะห์
1.             พิจารณา Output ว่าตรงกับข้อ 1 หรือข้อ 2 ของขั้นตอนการ Feedback แล้วพิจารณาประเด็นปัญหา
2.             กำหนดปัญหาจาก Output ให้ชัดเจน เช่น ไมข้าใจเนื้อหาเรื่องอะไร? ปฏิบัติงานที่ไดรับมอบหมายอะไร?ไม่ได้
3.             ค้นหาสาเหตุของปัญหาจากทุกขั้นตอนของระบบ (Input process Output )  เช่น ไม่ข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Output)  สาเหตุเพราะ ไม่ได้เข้าเรียนในชั่วโมงนั้นหรือเข้าเรียนแต่หลับ   หรืออาจารย์อธิบายไม่ชัดเจน (process) หรือสภาพอากาศในห้องเรียนร้อน (Input) เป็นต้น
4.             หาวิธีแก้ไขปัญหาและวิธีกำหนดปัญหา (แต่ละปัญหา) ที่เป็นรูปประธรรม เช่นไม่ข้าใจสาเหตุ  เพราะไม่ได้เข้าเรียน  วิธีแก้ปัญหาคือ 1) ให้เพื่อนช่วยอธิบาย  2) ให้อาจารย์ช่วยอธิบาย 3) ไปศึกษาเพิ่มเติมเอง
5.             เลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดและมีความเป็นไปได้สูง
6.             นำวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด (แต่ละปัญหาแต่ละวิธีไปปฏิบัติ) โดยกำหนดวันเวลาที่จะปฏิบัติ
7.             นำผลการปฏิบัติมาประเมินผลและวิเคราะห์หาปัญหา  สาเหตุของปัญหา  และวิธีการแก้ไขในเดือนถัดมา  ทำอย่างนี่ไปเรื่อยๆทุกเดือนจนสิ้นเทอม
การวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น  ในเดือนสุดท้ายของเทอมให้เปลี่ยน Output   จากความเข้าใจหรือเกิดทักษะในการปฏิบัติมาเป็นเกรดที่ควรจะได้ในแต่ละวิชา      และเกรดเฉลี่ยของแต่ละเทอมเรื่อยไปจนถึงเกรดเฉลี่ยเมื่อสำเร็จการศึกษา   ซึ่งหากนักศึกษาสามารถทำได้อย่างนี้ได้



คำนำ
รายงานเรื่อง  วิธีระบบหรือการจัดระบบการเรียนการสอน   เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา (วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา) เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ประกอบด้วย ความหมายของระบบ  องค์ประกอบของระบบ การวิเคราะห์ระบบ  ประโยชน์ของระบบ วิธีระบบกับเทคโนโลยีทางการศึกษา  การจัดระบบการสอน  การประยุกต์ใช้วิธีระบบกับการเรียน และชีวิตประจำวัน  โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล  และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้คงจะอำนวยประโยชน์ต่อนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าในการใช้เป็นแหล่งข้อมูลได้พอสมควร
                ขอขอบคุณ  อาจารย์สุจิตตา  จันทร์ลอย( อ.แจ๊ค )  ที่ให้คำแนะนำ  ชี้แนะ  แหล่งข้อมูลในการสืบค้นเนื้อหาในการทำรายงาน  ทำให้รายงานมีเนื้อหาสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น

สุพัตรา   สุนิพันธ์
11   ธันวาคม    2554









สารบัญ
คำนำ                                                                                                                                                              ก
ความหมายของระบบ                                                                                                                 1-2
นิยามคำศัพท์                                                                                                                                                2-5
องค์ประกอบของระบบ                                                                                                                             6
การวิเคราะห์ระบบ                                                                                                                                     7-8
ประโยชน์ของระบบ                                                                                                                                  8
วิธีระบบกับเทคโนโลยีทางการศึกษา                                                                                                      9
การจัดระบบการสอน                                                                                                                 10-13
รูปแบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ASSURE                                                                                      14-15
การประยุกต์ใช้วิธีระบบกับการเรียน และชีวิตประจำวัน                                                                   16
ขั้นตอนการวิเคราะห์                                                                                                                                  17
บรรณานุกรม






บรรณานุกรม
กิดานันท์  มลิทอง.  เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
รัฐกรณ์  คิดการ.  เทคโนโลยีการศึกษา.  ราชบุรี : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี, 2543
วารินทร์  รัศมีพรหม. ผศ.ดร. สื่อการสอน.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2531
สมบูรณ์  สงวนญาติ.  เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.  ครั้งที่41.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2534